Research are biology

จีโนมิกส์และทรานสคริปโตมิกส์ของโรคมาลาเรีย

ชีววิทยาของเชื้อไวแวกซ์ ชีววิทยา; เชื้อไวแวกซ์มีลักษณะทางชีววิทยาเฉพาะหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับจุดเด่นทางพยาธิวิทยาคลินิกและวิธีการติดต่อของเชื้อไวแวกซ์ที่เลือกที่จะ invade เม็ดเลือดแดงตัวอ่อนระยะ reticulocyte ที่มีแอนติเจนดัฟฟี่บนผิวเม็ดเลือดแดง The kinetic ของการผลิตระยะมีเพศ (gametocyte) ของเชื้อไวแวกซ์ยังแตกต่างจากระยะมีเพศที่เกิดขึ้นก่อนจะก่อนอาการทางคลินิก และที่น่าตกใจคือ เชื้อไวแวกซ์สามารถอยู่ในระยะจำศีลในตับรอเวลาเผื่อจะเกิดการติดเชื้อซ้ำ (relapse) ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการควบคุมและกำจัดโรคมาลาเรียให้หมดไปจุดมุ่งหมายของการทำวิจัยของทีมวิจัย MVRU คือ การศึกษา molecular mechanism ภายใต้ลักษณะเฉพาะของเชื้อในระยะตับเกี่ยวกับการติดเชื้อซ้ำ

ดูโครงการที่เกี่ยวข้อง
MIST (Research Spotlight)

Malaria Infection Study Thailand

The Malaria Infection Study in Thailand (MIST) is a program of research to accelerate development of vaccine and drugs for Plasmodium vivax. MIST is a collaboration between the Mahidol Vivax Research Unit (MVRU) and Mahidol Oxford Tropical Medicine Research Unit (MORU), funded by Wellcome, UK. The studies will involve carefully giving a controlled number of parasites to healthy volunteers and will be conducted at the Faculty of Tropical Medicine, which has a Clinical Research Centre, in dedicated, modern, well equipped facilities. The team has more than 50 years’ experience conducting world-class malaria research. The research will provide the platform for testing potential vaccines and drugs as well as other interventions for P. vivax.

Research area field

การตรวจวิเคราะห์มาลาเรีย

เทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) เป็นวิธีการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม (DNA) ภายใต้อุณหภูมิคงที่โดยใช้เพียงเครื่องมือพื้นฐานทางห้องปฏิบัติการ เช่น heat block หรือ water bath แต่ก็ยังให้ความไวในการตรวจเทียบเท่าเทคนิค PCR เทคนิค LAMP ที่หน่วยของเราพัฒนาขึ้นเพื่อต้องการความรวดเร็ว และเรียบง่ายในการตรวจที่จะสามารถนำไปใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรียในพื้นที่ห่างไกลในประเทศไทย เทคนิค LAMP ที่ใช้สามารถตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียในคนได้ครบทั้ง 4 ชนิดและยังมีความไวในการตรวจในผู้ป่วยที่เป็นพาหะ ที่มีเชื้อปริมาณน้อยและไม่แสดงอาการทางคลินิก

G6PD hemoglobinuria

G6PD

เป็นเวลากว่าทศวรรษ อุบัติการณ์ของโรคมาลาเรียมีแนวโน้มลดลงในแต่ละพื้นที่ทั่วโลก ความยืดหยุ่นของเชื้อไวแวกซ์และเชื้อฟัลซิพารัมที่เป็นอุปสรรคต่อการควบคุมโรคคือการที่เชื้ออยู่ในภาวะจำศีลและสามารถหลบซ่อนในตับของโฮสต์ได้ ยาไพรมาควินเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อระยะจำศีลและถือว่าเป็นยาที่ใช้รักษามาลาเรียซึ่งใช้กันในหลายๆประเทศทั่วโลก ยาไพรมาควินและยา 8-aminoquinolone สามารถกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงแตกในผู้ป่วยโรคมาลาเรียที่พร่องเอนไซม์ G6PD สำหรับผู้ป่วยเพศหญิงที่บกพร่องเอนไซม์ G6PD แบบเฮทเทอโรไซกัส (heterozygous) พบว่ามีการตรวจเอนไซม์ G6PD ด้วยวิธีเชิงคุณภาพบ่อยครั้ง การให้ยาไพรมาควินกับผู้ป่วยมาลาเรียที่บกพร่องเอนไซม์ G6PD แบบเฮทเทอโรไซกัสสามารถก่อให้เกิดความรุนแรงของโรคและทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง การศึกษาเกี่ยวกับการบกพร่องเอนไซม์ G6PD โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเพศหญิงแบบเฮทเทอโรไซกัสเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคมาลาเรียและการกำจัดโรคมาลาเรียจะช่วยสนับสนุนการใช้ยา 8-aminoquinolone อย่างปลอดภัยและทำให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ดูโครงการที่เกี่ยวข้อง
Research area transmission

การติดต่อของโรคมาลาเรีย

การติดต่อของโรคมาลาเรีย การติดต่อของโรคมาลาเรีย; ทีมวิจัยของเราได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการติดต่อของโรคมาลาเรียเพื่อเพิ่มความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประชากร ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เชื้อดื้อยาและชีววิทยาของยุงพาหะ ที่ทำให้เกิดการติดต่อของโรคอย่างต่อเนื่องที่บริเวณเขตเชื่อมต่อบริเวณชายแดน ซึ่งเราจะทำการคิดแผนการควบคุมเพื่อสนับสนุนกำจัดมาลาเรียระดับประเทศได้

ดูโครงการที่เกี่ยวข้อง
Research are vaccine

การพัฒนายาและวัคซีน

การพัฒนายาและวัคซีน การพัฒนายาและวัคซีน; ทีมวิจัย MVRU และผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้ริเริ่มในการศึกษาวิจัยวัคซีนป้องกันการติดต่อของโรคมาลาเรีย การ invade เม็ดเลือดแดง และการ invadeของเชื้อสปอโรซอยต์ เช่นเดียวกับการคิดึ้นยาต้านเชื้อมาลาเรียระยะจำศีล (hypnozoite)

ดูโครงการที่เกี่ยวข้อง
Research area transmission

ระบาดวิทยาของโรคมาลาเรีย

ระบาดวิทยาของโรคมาลาเรีย; ทีมวิจัย MVRU ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับการติดเชื้อและยุงพาหะในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ในบริเวณชายแดนไทย- พม่า การวางแผนการศึกษาทั้งการสำรวจแบบภาคตัดขวางและการศึกษาตามกลุ่มประชากรทำเพื่อการติดตามการติดต่อของโรคมาลาเรียอย่างแม่นยำรวมถึงวิวัฒนาการของโรคมาลาเรียในตามกาลเวลา การจับยุงพาหะทำเพื่อที่จะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและการกระจายตัวของยุงพาหะตามฤดูกาลต่างๆ ประกอบกับการหายุงพาหะหลักในพื้นที่การศึกษา การศึกษาเหล่านี้ดำเนินการร่วมกับการใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการบ่งชี้กลุ่มของประชากรที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อมาลาเรียและประเมินประสิทธิภาพของการป้องกันที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น การใช้มุ้งและยาฉีดพ่น ความเข้าใจในพฤติกรรมและปัจจัยทางประชากรศึกษาที่เน้นเกี่ยวกับโรคมาลาเรียแบบไม่แสดงอาการจะช่วยในการกำหนดและจัดทำนโยบายในการระบุตัวตนภายใต้ความเสี่ยงสุงสำหรับการป้องกันโรคอย่างเหมาะสม

ดูโครงการที่เกี่ยวข้อง

TH Our publication range from transmission-blocking vaccine to new P. vivax makers.

TH See all publications