Humanised mice 1

ปัจจุบันการศึกษาเชื้อมาลาเรีย P. vivax ระยะต่างๆ ด้วยเทคนิค in vitro ยังไม่แพร่หลาย การศึกษาขึ้นอยู่กับการแยกเชื้อ P. vivax จากคนที่ติดเชื้อเท่านั้น ถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการศึกษาวงจรชีวิตของเชื้อนี้ มีผู้นำเอา Humanized mouse model ที่ใส่เซลล์ของคนเข้าไปมาเป็นต้นแบบในการศึกษาวงจรชีวิตของเชื้อ P. falciparum ได้สำเร็จ ดังนั้น หากนำเอา Humanized mouse model มาศึกษาเชื้อ P. vivax น่าจะเป็นช่องทางที่จะเกิดการเรียนรู้อย่างมากมายสร้างความก้าวหน้าในการศึกษาเชื้อนี้ในห้องปฏิบัติการได้

ทีม MVRU ร่วมกับ Dr. Sebastian จาก CIDR และ Prof. Osamu Kaneko จาก Nagasaki university ได้ใช้ Humanized mouse model ที่ใส่เซลล์ของคน ศึกษาเชื้อ P. vivax โดยมี 2 models ที่ได้ผล คือ FRG-NOD และ PXB mice ทั้ง 2 models สนับสนุนการเจริญเติบโตของระยะในตับ และระยะในตับ-ติดต่อ-สู่ระยะในเม็ดเลือด วิธีการทำได้ด้วยการฉีดเชื้อ P. vivax เข้าไปในหนูทางเส้นเลือดที่หาง เชื้อจะเข้าสู่เซลล์ของคนที่อยู่ในหนูและเจริญเติบโตกลายเป็นระยะที่ active และระยะ dormant (hypnozoite) หลังจากนั้น เมื่อฉีดเม็ดเลือดแดงอ่อนของคน (human young red blood cells) จะพบว่าเชื้อระยะ merozoites ที่ออกมาจากตับหนูจะเข้าในเม็ดเลือดแดงได้ การศึกษานี้เปิดโอกาสอันกว้างขวางในการศึกษาแบบ in vitro ในการทดลองยา หรือทดสอบวัคซีน ชนิดที่ออกฤทธิ์ต่อระยะในตับของเชื้อ P. vivax

ในห้วงเวลาแห่งกาลกำจัดมาลาเรียอย่างปัจจุบันนี้ ความต้องการวิธีในการควบคุมและกำจัดมาลาเรียหลากหลายวิธีเป็นสิ่งที่ต้องการสูงสุด ความท้าทายใหญ่ในการกำจัดเชื้อ P. vivax ก็คือระยะในตับ (hypnozoites) ของเชื้อตัวนี้ ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าเป็นต้นเหตุของการกลับเป็นโรคซ้ำได้อีก ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระยะในตับจึงเป็นเป้าหมายสำคัญยิ่ง การใช้ humanized mouse model จึงเป็นโอกาสที่จะช่วยให้การวิจัยทดสอบยาสำเร็จได้