transmission 1

ปัจจุบันการกำจัดมาลาเรียต้องอาศัยวิธีต่างๆ ที่ได้ผล เช่น มุ้งชุบยา (long-lasting insecticide-treated bed nets-LLINs) การพ่นยาในบ้าน (indoor residual spraying with insecticides-IRS) แต่วิธีการใหม่ที่ช่วยยับยั้งการติดเชื้อจาก ยุง สู่ คน หรือจากคน สู่ ยุง จะช่วยการกำจัดมาลาเรียสำเร็จได้ ดังนั้น การพัฒนาวัคซีนกลุ่ม transmission blocking vaccines (TBVs) ที่ช่วยหยุดการติดเชื้อระหว่าง คน-ยุง และ ยุง-คน จึงได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นวัคซีนที่ให้ประโยชน์สูง เพราะว่าวัคซีนนี้สามารถออกฤทธิ์ได้ไม่ว่าพฤติกรรมของคนหรือยุงจะเป็นอย่างไร

ทีม MVRU และพันธมิตรผู้ร่วมมือเป็นกลุ่มผู้บุกเบิกในการค้นพบและการทดสอบวัคซีนมาลาเรียตัวใหม่ (new candidates) กลุ่ม TBVs หลายตัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 วัคซีนเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายในการขัดขวางการติดต่อของเชื้อมาลาเรียจากคนที่ติดเชื้อไปสู่ยุง โดยการใช้ยุง An. dirus ที่เป็นยุงพาหะของมาลาเรียในภูมิภาคเอเซียที่เลี้ยงไว้ในห้องปฏิบัติการร่วมกับการใช้เลือดของผู้ป่วยอาสาสมัครที่เป็นมาลาเรีย พวกเราสามารถประเมินวัคซีน TBVs หลายตัว โดยเฉพาะวัคซีน Pvs25 ที่อยู่ในระยะ Clinical Phase I ระยะต่อไปพวกเราและกลุ่มนักวิจัยจาก Mahidol Oxford Research Unit (MORU) วางแผนร่วมกันเริ่มการวิจัยในกลุ่มอาสาสมัคร (Controlled Human Malaria Infection) ติดเชื้อมาลาเรียไวแวกซ์ ในแถบภูมิภาคนี้

งานของพวกเรามุ่งเน้นเพื่อเลือกวัคซีนหลัก (key candidates) กลุ่ม TBVs สำหรับป้องกันมาลาเรียไวแวกซ์ อาศัยวิธี membrane feeding assays (MFA) ทำให้เรามีตังเลือกหลายตัว อาทิ Pvs25, Pvs28, Pvs45/58, Pvs230 และ AnAPN1 พวกเราพบว่าในบางราย สามารถขัดขวางการติดต่อระหว่าง คน-สู่-ยุง ได้อย่างสมบูรณ์ งานวิจัยของเรา ทำให้ได้ข้อมูลหลักที่สำคัญของการค้นพบ และทดสอบ สู่ clinical trials ได้

Publications: